ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-ุ6


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
     1.   เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ข้อใดทำหน้าที่เป็นสื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์
          ก.   แผนที่                                         ข.   ลูกโลกจำลอง
          ค.   จีพีเอส (GPS)                                 ง.   รูปถ่ายทางอากาศ 
     2.   ผู้ใช้แผนที่ควรมีความรู้พื้นฐานในข้อใดมากที่สุดจึงจะสามารถอ่านแผนที่ได้ถูกต้องรวดเร็ว
          ก.   องค์ประกอบของแผนที่                     ข.   ความหมายของแผนที่
          ค.   ภูมิประเทศในแผนที่                         ง.   ประเภทของแผนที่
     3.   เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในข้อใด ทำให้รู้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ได้ชัดเจนมากที่สุด
          ก.   แผนที่                                          ข.   ภาพจากดาวเทียม
          ค.   ภาพถ่ายทางอากาศ                          ง.   เว็บไซต์ทางภูมิศาสตร์
     4.   ข้อใดอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS ได้ชัดเจน
          ก.   ระบบสำรองเก็บข้อมูลบนพื้นผิวโลกด้วยเครื่องรับรู้                
          ข.   การบันทึกข้อมูลการทำงานของดาวเทียมอย่างมีระบบ
          ค.   เทคโนโลยีที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาเป็นหลักการทำงาน             
          ง.   ระบบข้อมูลที่เชื่อมโยงกับค่าพิกัดภูมิศาสตร์ และรายละเอียดของวัตถุบนพื้นโลกโดยใช้คอมพิวเตอร์ 
     5.   การบันทึกข้อมูลหรือรูปภาพของพื้นที่จากเครื่องบิน มีข้อจำกัดอย่างไร
          ก.   ข้อมูลจากภาพไม่ชัดเจน
          ข.   บันทึกข้อมูลได้ดีเฉพาะช่วงฤดูแล้ง
          ค.   ความสั่นสะเทือนของเครื่องบินทำให้ภาพคลาดเคลื่อน
          ง.   นักบินจะต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษจึงจะได้ภาพที่ถูกต้อง 
     6.   การใช้เครื่องบินสำรวจด้านธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยา มีผลดีในข้อใดมากที่สุด
          ก.   การสำรวจและขุดเจาะ เพื่อหาทรัพยากรใต้ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
          ข.   กำหนดตำแหน่ง เพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อม
          ค.   มีข้อมูลที่เป็นตัวเลขตามหลักสถิติ
          ง.   รู้ตำแหน่งเมืองสำคัญทั่วโลก 
     7.   ข้อใด ไม่จัดว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
          ก.   ข้อมูล                                          ข.   ซอฟต์แวร์
          ค.   ฮาร์ดแวร์                                      ง.   ห้องเครื่อง 
     8.   ระบบการทำงานของการถ่ายรูปทางอากาศที่สำคัญที่สุด คือข้อใด
          ก.   การใช้เครื่องมือถ่ายภาพ                     
          ข.   การแปลความหมายจากภาพถ่าย
          ค.   การกำหนดบุคลากรที่มีความชำนาญในการบิน           
          ง.   การวางแผนการบินและมาตราส่วนของแผนที่ล่วงหน้า 
     9.   การบันทึกข้อมูลของดาวเทียมพาสซีพ (Passive) คืออะไร              
          ก.   ระบบที่บันทึกข้อมูลจากการสะท้อนคลื่นแสงในเวลากลางวัน และคลื่นความร้อนจาก
               ดวงอาทิตย์ในเวลากลางคืน                  
          ข.   ระบบที่ดาวเทียมผลิตพลังงานเองและส่งสัญญาณไปยังพื้นโลก แล้วรับสัญญาณสะท้อนกลับ
              ไปยังเครื่องรับ
          ค.   ระบบการผลิตพลังงานของดาวเทียมสะท้อนไปยังข้อมูลที่ต้องการบันทึกภาพถ่าย
          ง.   ระบบการรับข้อมูลจากแสงอาทิตย์ที่มีคลื่นความร้อนส่งไปยังดาวเทียม 
     10. การวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมมีองค์ประกอบหลักในการวิเคราะห์หลายประการ ยกเว้นข้อใด
          ก.   เนื้อภาพ สี                                    ข.   ความสูง เงา
          ค.   ตัวเลข น้ำหนัก                               ง.   รูปแบบ ขนาด


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.   ข้อความเกี่ยวกับบรรยากาศของโลกข้อใดถูกต้อง
          ก.   แก๊สที่อยู่มากที่สุดในบรรยากาศ คือ แก๊สออกซิเจน                          
          ข.   บรรยากาศเป็นแหล่งสะสมไอน้ำและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรน้ำ
          ค.   บรรยากาศช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลตที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์             
          ง.   บรรยากาศทำหน้าที่คลายความร้อนทำให้อุณหภูมิแตกต่างกันในเวลากลางวันและกลางคืน
      2.   ชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ จะมีลักษณะเด่นในข้อใด
          ก.   อุณหภูมิของอากาศจะลดลงตามความสูงของพื้นที่
          ข.   อุณหภูมิของอากาศจะสูงขึ้นตามความสูงของพื้นที่                                     
          ค.   อากาศมีการเคลื่อนที่จากแนวต่ำขึ้นสู่ที่สูงเรียกว่า ลม              
          ง.   การเคลื่อนที่ของอากาศจะเคลื่อนไปในแนวนอนเพียงอย่างเดียว ท้องฟ้าปราศจากเมฆ
     3.   ปรากฏการณ์เรือนกระจกมีผลสำคัญในข้อใด
          ก.   อุณหภูมิและภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง              
          ข.   ปริมาณป่าไม้ลดน้อยลงในบริเวณเส้นศูนย์สูตร
          ค.   ฝนตกหนักเป็นบางแห่งในภูมิภาคต่างๆ ของโลก          
          ง.   พลังงานรังสีจากดวงอาทิตย์ทะลุชั้นบรรยากาศไปสู่โลก 
     4.   ปรากฏการณ์เอลนีโญส่งผลสำคัญในข้อใด
          ก.   เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรงในทวีปเอเชีย   
          ข.   เกิดบริเวณพื้นที่อับ ฝนกระจายอยู่ทั่วไป    
          ค.   บริเวณน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกแถบศูนย์สูตรเย็นลง
          ง.   เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์เป็นบริเวณกว้างไปทั่วโลก  
     5.   ปรากฏการณ์ในข้อใดทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีฝนตก แต่บริเวณ
          แปซิฟิกตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้งยาวนานในช่วงฤดูฝน
          ก.   เอลนิโญ                                  ข.   ลานิญา
          ค.   พายุหมุน                                 ง.   อุณหภูมิผกผัน
     6.   บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง และมีความรุนแรงมากที่สุดจะอยู่บริเวณใด
          ก.   ตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนติก
          ข.   บริเวณหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
          ค.   รอบมหาสมุทรแปซิกฟิก
          ง.   ทวีปเอเชีย 
     7.   ภูเขาไฟที่เกิดบริเวณจุดร้อน ได้แก่ภูเขาไฟในข้อใด
          ก.   ภูเขาไฟในประเทศญี่ปุ่น                     
          ข.   ภูเขาไฟในหมู่เกาะฮาวาย
          ค.   ภูเขาไฟในประเทศเอธิโอเปีย                
          ง.   ภูเขาไฟในประเทศอินโดนีเซีย 
     8.   กระแสน้ำในข้อใดจัดเป็นกระแสน้ำเย็น
          ก.   กระแสน้ำเปรู                                
          ข.   กระแสน้ำศูนย์สูตร
          ค.   กระแสน้ำตุโระชิโอะ                         
          ง.   กระแสน้ำออสเตรเลียตะวันออก 
     9.   กระแสน้ำที่ไหลเข้าไปในทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา
          และแคนาดาคือ กระแสน้ำอะไร
ก.       กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติก
ข.       กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม                     
ค.       กระแสน้ำเย็นเบงเกวลา
ง.        กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร
     10. กระแสน้ำเย็นแลบลาเดอร์ เป็นกระแสน้ำที่ไหลอยู่ในบริเวณใด
          ก.   มหาสมุทรอินเดีย                              ข.   มหาสมุทรแปซิฟิก
          ค.   มหาสมุทรอาร์กติก                            ง.   มหาสมุทรแอตแลนติก 
     11. บริเวณที่กระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นไหลไปปะทะกันจะเป็นประโยชน์ในด้านใด
          ก.   การประมง                                    ข.   การค้าขาย
          ค.   การคมนาคม                                  ง.   การอุตสาหกรรม
     12. การที่แหล่งอารยธรรมของโลกล้วนพัฒนาการขึ้นจากบริเวณฝั่งแม่น้ำ หรือ
          ดินดอนสามเหลี่ยมปากน้ำ แสดงถึงความสำคัญในเรื่องใด
          ก.   ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับแหล่งน้ำ
          ข.   อิทธิพลของน้ำกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
          ค.   น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญของปัจจัยสี่
          ง.   การคมนาคมขนส่งเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาบ้านเมือง 
     13. ปรากฏการณ์ธรรมชาติในข้อใด ไม่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์
          ก.   เรือนกระจก                                   ข.   เอลนีโญ
          ค.   ลานิญา                                        ง.   สึนามิ 
     14. การที่ภาคตะวันตกของประเทศไทยมีทิวทัศน์สวยงาม แต่นักท่องเที่ยวยังไปเที่ยวน้อยนั้นเนื่องจาก
          เกิดผลในข้อใด
          ก.   การประชาสัมพันธ์น้อย ทำให้คนไม่รู้แหล่งท่องเที่ยว
          ข.   ขาดโครงข่ายเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน
          ค.   พื้นที่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร
          ง.   ค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบกับภาคอื่น 
     15. บริเวณลุ่มแม่น้ำยม จังหวัดสุโขทัยและพิษณุโลก จะมีปัญหาน้ำท่วมเกือบทุกที่นั้น
          เนื่องจากสาเหตุใด
          ก.   เป็นบริเวณที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำมากที่สุด
          ข.   เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงและมีฝนตกต่อเนื่องยาวนาน
          ค.   มีการตัดไม้ทำลายป่าในบริเวณต้นน้ำมากกว่าที่อื่น
          ง.   เป็นบริเวณที่ต่ำกว่าบริเวณอื่น จึงเป็นแอ่งน้ำที่มีน้ำไหลมารวมกัน 
     16. พื้นที่เนินแบบลูกฟูก จะพบมากในภาคใดของประเทศไทย
          ก.   ภาคเหนือ                                     ข.   ภาคใต้
          ค.   ภาคกลาง                                     ง.   ภาคตะวันออก 
     17. เพราะเหตุใดประชาชนจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดอุบลราชธานี จึงมีการปลูกพืชสวนและ
          ผลไม้ต่างๆ ได้ผลดีเช่นเดียวกับภาคตะวันออก
          ก.   เพราะอากาศอบอุ่น ฝนตกชุกจึงทำให้ผลไม้ได้ผลดี
          ข.   เพราะดินดี มีร่องรอยปรากฏหินภูเขาไฟเกือบตลอดแนว
          ค.   เพราะทางราชการมีโครงการทดลองปลูกพันธุ์พืชที่หลากหลาย
          ง.   เพราะเป็นแหล่งที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน จึงทำให้ฝนตกและมีภูมิอากาศเหมาะสม 
     18. แหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย คือบริเวณใด
          ก.   ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง                            
          ข.   ที่ราบลุ่มแม่น้ำชี-มูล
          ค.   ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา                   
          ง.   ที่ราบลุ่มแม่น้ำบางประกง 
     19. เพราะเหตุใดบริเวณภาคใต้ของไทยจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวไทยและชาวต่างประเทศ
          ก.   เพราะมีคาบสมุทร เกาะ และหมู่เกาะสวยงาม
          ข.   เพราะอาหารสด และผลไม้อุดมสมบูรณ์ตลอดปี
          ค.   เพราะเส้นทางคมนาคมสะดวกมีท่าอากาศยานทันสมัย
          ง.   เพราะภูมิอากาศชุ่มชื้นมีพืชพรรณธรรมชาติหลากหลาย    
     20. เพราะเหตุใดจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรีจึงสามารถทำนาเกลือสมุทรได้
          ก.   มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม
          ข.   มีเขื่อนที่สามารถกั้นน้ำทะเลที่หนุนมากักเก็บไว้
          ค.   เส้นทางคมนาคมขนส่งสะดวกต่อการขนส่งสินค้า
          ง.   อยู่ใกล้อ่าวไทยสามารถใช้น้ำทะเลจากอ่าวไทยมาทำนา



หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลก

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
     1.   ปัจจัยสำคัญที่มีผลทำให้เกิดแผ่นดินไหว คืออะไร
          ก.   แรงสั่นสะเทือนของคลื่นในมหาสมุทร       
             การเคลื่อนที่ของหินบนภูเขาที่ลาดชันอย่างรวดเร็ว
             เกิดจากการปะทุของหินหนืด แก๊ส  และวัสดุใต้พิภพ     
          ง.   การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในรูปของการเลื่อนตัวของหิน หรือการปะทุของภูเขาไฟ 
     2.   การเกิดปรากฏการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยค่อนข้างน้อย และผลกระทบไม่รุนแรงนั้น
          เนื่องจากเหตุผลในข้อใด
             พื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเลมีน้อย
             อยู่ไกลจากมหาสมุทรแปซิฟิก           
          ค.   ไม่ได้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก
          ง.   ไม่เคยปรากฏว่าเคยมีภูเขาไฟระเบิด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแผ่นดินไหว 
     3.   การที่มีปรากฏการณ์ภูเขาไฟปะทุอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับข้อความใด
          ก.   ภูเขาไฟมีรอยแตกแยกเมื่อได้รับความร้อนจึงระเบิด
          ข.   ความร้อนในโลกมีอุณหภูมิสูงสุด จึงพยายามหาทางออกมาจากภายใน
          ค.   แก๊สภายในโลกได้รับความร้อนสูงจึงเกิดแรงระเบิด ส่งผลให้หินชั้นต่างๆ ระเบิดออกมา
          ง.   ภายในเปลือกโลกยังมีมวลหินหนืดหลอมละลายอยู่ และพยายามหาทางระบายความร้อน 
     4.   ภูเขาไฟในประเทศไทย  ลักษณะอย่างไร
          ก.   เป็นภูเขาไฟรูปทรงฝาชี เป็นกรวยมีฐานกว้าง
          ข.   เป็นภูเขาไฟที่มีลักษณะมีรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก
          ค.   เป็นภูเขาไฟรูปโล่ มีคุณสมบัติของลาวาจะไหลได้ง่าย
          ง.   เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว เป็นหินแกรนิต หินหนืด และมีแก๊สอยู่ระหว่างช่องว่าง 
     5.   สึนามิ เป็นภัยธรรมชาติ ที่มักเกิดเมื่อใด
          ก.   แผ่นดินไหวรุนแรงใต้ท้องทะเล
          ข.   แผ่นเปลือกโลกเลื่อนออกจากกัน
          ค.   แผ่นดินไหวพร้อมกับภูเขาไฟระเบิด
          ง.   พายุหมุน อย่างฉับพลันบริเวณกลางมหาสมุทร 
     6.   บริเวณที่มักเกิดสึนามิ ได้แก่บริเวณใด
          ก.   มหาสมุทรแปซิฟิก                            ข.   มหาสมุทรอินเดีย
          ค.   มหาสมุทรแอตแลนติก                        ง.   มหาสมุทรอาร์กติก 
     7.   ข้อใดไม่จัดว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอุทกภัย
          ก.   น้ำทะเลหนุน                                  ข.   การสร้างเขื่อน
          ค.   พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม                             ง.   ฝนตกหนักและต่อเนื่องยาวนาน
     8.   แผ่นดินถล่มมีสาเหตุสำคัญหลายประการ ยกเว้นข้อใด
          ก.   การดูดทรายจากแม่น้ำ                       ข.   การขุดบ่อน้ำบาดาล
          ค.   ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง                      ง.   ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 
     9.   การแก้ไขปัญหาชายฝั่งถูกน้ำกัดเซาะในข้อใด เหมาะสมที่สุด
          ก.   ปลูกป่าชายเลน
          ข.   ส่งเสริมการประมงน้ำกร่อย
          ค.   ห้ามชาวประมงจับปลาชายฝั่ง
          ง.   ไม่สร้างอาคารสูงล้ำไปในบริเวณชายหาด 
     10. การเกิดวาตภัยในข้อใด ไม่สัมพันธ์กับแหล่งที่เกิด
          ก.   พายุไซโคลนเอลลี - ออสเตรเลีย             ข.   พายุไซโคลนนาร์กีส - พม่า
          ค.   พายุไต้ฝุ่นกิสนา - ฟิลิปปินส์                 ง.   พายุไต้ฝุ่นเกย์ - อินเดีย 
     11. การเกิดไฟป่าจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติในข้อใดน้อยที่สุด
          ก.   อากาศ                                         ข.   กล้าไม้เล็กๆ
          ค.   ดิน - สัตว์ป่า                                  ง.   น้ำ - สัตว์เลี้ยง 
     12. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น คืออะไร
          ก.   ป่าไม้เหลือน้อย                               ข.   ปรากฏการณ์เรือนกระจก
          ค.   ปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด                 ง.   แสงอาทิตย์แผ่รังสีตรงมายังโลกเพิ่มขึ้น 
     13. ข้อใดเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
          ก.   พายุหมุนบ่อยขึ้น น้ำทะเลสูงขึ้น             ข.   การเกิดภูเขาไฟระเบิด
          ค.   การเกิดแผ่นดินไหว                           ง.   แผ่นดินถล่มบ่อย 
     14. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีหลายประการ ยกเว้นข้อใด
          ก.   ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น                          ข.   ปริมาณน้ำจืดลดลง
          ค.   ผลผลิตการเกษตรต่ำลง                      ง.   การอุตสาหกรรมลดลง 
     15. การกระทำข้อใด จัดว่ามีความสำคัญต่อการลดภาวะเรือนกระจก
          ก.   ลดการใช้โฟม ใช้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
          ข.   เผาขยะที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
          ค.   ใช้เครื่องปรับอากาศที่ผลิตได้เอง
          ง.   สร้างบ้านด้วยไม้


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

     1.   ลักษณะพื้นที่เป็นทิวเขา  ที่ลาดเชิงเขา  หุบเขา  ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใดของประเทศไทย
          ก.   ภาคใต้                                        ข.   ภาคเหนือ
          ค.   ภาคเหนือและภาคตะวันตก                ง.   ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก 
     2.   การลดลงของพื้นที่ป่าไม้มีผลกระทบต่อข้อใด  มากที่สุด
          ก.   การสร้างที่อยู่อาศัย                           ข.   พื้นที่การเกษตร
          ค.   ผลิตผลจากป่า                                ง.   จำนวนสัตว์ป่า 
     3.   ข้อใดมีส่วนในการสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ
          ก.   สัตว์ป่า                                        ข.   แร่ธาตุ
          ค.   สัตว์เลี้ยง                                      ง.   พลังงานไฟฟ้า 
     4.   ข้อใดเป็นพลังงานหมุนเวียน
          ก.   พลังงานจากถ่านหิน                          ข.   พลังงานจากปิโตรเลียม
          ค.   พลังงานแสงอาทิตย์                           ง.   พลังงานจากการใช้ฟืนและถ่าน 
     5.   การที่บริเวณพื้นที่ฝั่งธนบุรีกลายเป็นเมืองที่มีตึกสูงใหญ่ทั่วไปนั้นสอดคล้องกับวิกฤตการณ์เกี่ยวกับ
          ที่ดินในข้อใด
          ก.   การเพิ่มธุรกิจด้านการค้ามากขึ้น
          ข.   การใช้ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
          ค.   ชุมชนเมืองขยายตัวเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม
          ง.   การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างรวดเร็ว 
     6.   การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง สอดคล้องกับวิกฤตการณ์เกี่ยวกับที่ดิน
          และทรัพยากรดินในข้อใด
          ก.   การยึดครองที่ดินเป็นไปตามความต้องการของนักธุรกิจ
          ข.   การบุกรุกที่ดินทางการเกษตรเพื่อการอุตสาหกรรม
          ค.   การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว
          ง.   การบุกรุกที่ดินป่าไม้ ป่าสงวน 
     7.   การเกิดภัยธรรมชาติน้ำท่วมในประเทศไทย มักจะส่งผลต่อความเสียหายในข้อใดมากที่สุด
          ก.   ชีวิต ทรัพย์สิน สาธารณูปโภค ผลผลิตทางการเกษตร
          ข.   เส้นทางการคมนาคมถูกตัดขาดส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ
          ค.   พื้นที่ทางด้านการเกษตรได้รับความเสียหายจำนวนมาก
          ง.   การทำมาหากินของประชาชนทั้งในด้านการค้าขายและการเพาะปลูก หยุดชะงัก 
     8.   พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดการทรุดตัว หรือแผ่นดินถล่มระดับสูงมีอยู่ในภาคใดของประเทศไทย
          ก.   ภาคตะวันตก                                  ข.   ภาคตะวันออก
          ค.   ภาคเหนือ  ภาคใต้                            ง.   ทุกภาคของประเทศไทย 
     9.   การที่น้ำทะเลหนุนเข้ามาในแม่น้ำสายหลัก มีผลเสียหายอย่างไร
          ก.   สัตว์น้ำจืดตาย สวนผลไม้เสียหาย            ข.   น้ำประปาได้รับความเสียหาย
          ค.   น้ำในแม่น้ำมีรสกร่อย                         ง.   สัตว์น้ำตาย 
     10. การสร้างถนนขึ้นสู่เขาใหญ่ มีผลเสียอย่างไร
          ก.   เมื่อทางสะดวกทำให้มีการบุกรุกที่ดินมากขึ้น              
          ข.   กีดขวางทางด้านการเพาะปลูก
          ค.   ทางลาดชันก่อให้เกิดอันตราย
          ง.   ต้นไม้ถูกทำลาย         
     11. การเกิดไฟป่ามีผลเสียต่อข้อใดมากที่สุด
          ก.   ต้นไม้ได้รับความร้อน                         ข.   สัตว์ป่าหนีออกนอกป่าสงวน
          ค.   สูญพันธุ์ไม้  พันธุ์สัตว์ป่า                      ง.   บ้านเรือน ทรัพย์สินของชาวบ้านเสียหาย 
     12. การนำแร่และพลังงานมาใช้อย่างไม่มีระบบป้องกันที่ดี จะมีผลอย่างไร
          ก.   อากาศเป็นพิษ                                ข.   เครื่องจักรทำงานไม่ปกติ
          ค.   โรงงานอุตสาหกรรมขาดคุณภาพ           ง.   เกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างผู้ผลิตกับประชาชน 
     13. การสร้างเขื่อนมีประโยชน์ต่อการควบคุมปริมาณน้ำให้มีใช้ในช่วงขาดแคลนน้ำ แต่ก็มีผลกระทบต่อเรื่องใด
          ก.   การตัดไม้                                      ข.   การอุตสาหกรรม
          ค.   ระบบนิเวศแหล่งน้ำ                          ง.   การกักน้ำทำให้เกิดน้ำท่วม 
     14. การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ ส่งผลสำคัญในข้อใด
          ก.   พื้นที่การเกษตรลดลง                         ข.   ปริมาณไม้ลดลง
          ค.   ขาดผลผลิตจากป่า                            ง.   ความแห้งแล้ง 
     15. ข้อใดจัดเป็นพลังงานสะอาด
          ก.   พลังงานจากซากพืช                          ข.   พลังงานจากถ่านหิน
          ค.   พลังงานจากปิโตรเลียม                       ง.   พลังงานความร้อนใต้พิภพ 
     16. แหล่งน้ำมันส่วนใหญ่ของโลกอยู่บริเวณใด
          ก.   ตะวันออกกลาง                               ข.   ตะวันออก
          ค.   แอฟริกา                                       ง.   เอเซีย 
     17. การนำพลังงานปรมาณูมาใช้มีข้อจำกัดในเรื่องใด
          ก.   ค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูง
          ข.   ต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต
          ค.   การใช้อยู่ในขอบเขตเฉพาะทางการแพทย์
          ง.   สารกัมมันตภาพรังสีเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 
     18. การเกิดภาวะโลกร้อนมีสาเหตุสำคัญในข้อใด
          ก.   มนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ
          ข.   เกิดโรคระบาดอย่างรุนแรงทำความเสียหายต่อชีวิตมนุษย์
          ค.   ป่าไม้ลดน้อยส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในป่า
          ง.   เกิดไฟป่าอย่างต่อเนื่อง
     19. ทวีปที่ขาดแคลนน้ำมากที่สุดเรียงตามลำดับ คือข้อใด
          ก.   ทวีปแอฟริกา  ทวีปอเมริกา
          ข.   ทวีปแอฟริกา  ตะวันออกกลาง  อินเดีย
          ค.   ทวีปเอเชียบริเวณตะวันออกกลาง  และเอเชียใต้
          ง.   ทวีปเอเชียบริเวณเอเชียใต้  และตอนเหนือของจีน 
     20. ข้อใดจัดอยู่ในภูมิสังคมใหม่ของไทยอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโลก
          ก.   หมู่บ้านในอำเภอบางปะอิน  อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
          ข.   ชุมชนมิตรภาพพัฒนา  อำเภอตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา
          ค.   อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  จังหวัดเพชรบุรี
          ง.   บริเวณมาบตาพุด  จังหวัดระยอง


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
      1.   หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในข้อใด ควรจัดทำเป็นอันดับแรก
          ก.   ส่งเสริมคุณภาพประชากร                    ข.   สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
          ค.   ปรับปรุงคุณภาพทรัพยากร                   ง.   ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
     2.   ข้อใดจัดเป็นการจัดการทรัพยากรดินที่เหมาะสม
          ก.   ใช้สารเคมีเท่าที่จำเป็น
          ข.   ปลูกพืชหลายชนิดสลับกันไป
          ค.   บริเวณดินเปรี้ยว ดินเค็มใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคาร
          ง.   กำหนดพื้นที่อุตสาหกรรมให้อยู่บริเวณชายฝั่ง 
     3.   การจัดการทรัพยากรป่าไม้ข้อใดเหมาะสมที่สุด
          ก.   รับเจ้าพนักงานมาดูแลป่าไม้เพิ่มขึ้น
          ข.   ใช้ไม้เนื้ออ่อนสำหรับทำเครื่องเรือน
          ค.   ออกกฎหมายควบคุมการใช้เครื่องมือตัดไม้
          ง.   เชิญชวนเยาวชนไทยยุคใหม่ช่วยกันปลูกต้นไม้ 
     4.   พลังงานในข้อใด ไม่จัดเป็นพลังงานหมุนเวียน
          ก.   พลังงานลม                                    ข.   พลังงานจากน้ำ
          ค.   พลังงานจากถ่านหิน                          ง.   พลังงานแสงอาทิตย์ 
     5.   สมศรีและครอบครัวใช้เสื้อผ้าคุ้มค่าจนกว่าจะเก่าขาด และเมื่อขาดก็ยังซ่อมแซม การกระทำของ
          สมศรีมีผลดีต่อข้อใดมากที่สุด
          ก.   การประหยัดพลังงาน                         ข.   การอนุรักษ์ธรรมชาติ
          ค.   การหาพลังงานทดแทน                       ง.   การใช้ทรัพยากรทดแทน 
     6.   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีบทบาทสำคัญในเรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
          สิ่งแวดล้อมในข้อใดมากที่สุด
          ก.   แร่ธาตุ                                         ข.   อากาศ
          ค.   พลังงาน                                       ง.   ดิน-น้ำ 
     7.   กิจกรรมหลักของกรีนพีช คืออะไร
          ก.   หยุดภาวะโลกร้อน                            ข.   อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า
          ค.   จัดทำหนังสือชุดโลกสีเขียว                   ง.   จัดหาสมาชิกที่มีอุดมการณ์สร้างโลกสีเขียว 
     8.   อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศนั้น ประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการ
          ในข้อใด
          ก.   ส่งเสริมความหลากหลายทางนิเวศวิทยา
          ข.   ควบคุมการผลิตสินค้าด้านอุตสาหกรรมไม่ให้ก่อเกิดมลพิษ
          ค.   ควบคุมบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในประเทศตามเกณฑ์
          ง.   ควบคุมให้การเกิดแก๊สเรือนกระจกในประเทศอยู่ในระดับไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชั้นบรรยากาศโลก 
     9.   นักเรียนใช้ถุงผ้าสำหรับใส่ของได้หลายๆ ครั้ง แสดงว่าได้มีส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
          สิ่งแวดล้อมตามหลักการใด
          ก.   การปฏิเสธการใช้                             ข.   การถนอมรักษา
          ค.   การนำของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่             ง.   การใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
     10. การที่มนุษย์ในแต่ละภูมิภาคของโลกได้ศึกษาธรรมชาติและนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์
          ในการดำรงชีวิตนั้น สอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
          ก.   เทคโนโลยี                                     ข.   การสร้างสรรค์วัฒนธรรม
          ค.   การปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม            ง.   การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น