ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และการแบ่งเขตเวลาของโลก

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
   1.  วัตถุประสงค์สำคัญของการใช้แผนที่ คือข้อใด
       ก.   เทียบเวลาของโลก      ข.  ศึกษาพื้นที่ของโลก
       ค.   หาตำแหน่งที่ตั้ง         ง.   ศึกษาฤดูกาล
   2.  ชาติชายต้องการขับรถจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เขาไม่เคยไป ชาติชาย  ควรเตรียมเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ชนิดใดมากที่สุด
       ก.   แผนที่ประเทศไทยแสดงลักษณะภูมิประเทศ      
       ข.   แผนที่ประเทศไทยของกรมทางหลวง
       ค.   ลูกโลก
       ง.   เข็มทิศ
   3.  ยิ้มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ต้องการศึกษาพื้นที่ของทวีปต่างๆ ทั่วโลก ควรใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใด
       ก.   ภาพจากดาวเทียม      ข.  รูปถ่ายทางอากาศ
       ค.   แผนที่                    ง.   ลูกโลก
   4.  แผนผังมีความแตกต่างจากแผนที่อย่างไร
       ก.   แผนผังมีขนาดเล็กและพกพาสะดวกกว่าแผนที่
       ข.   แผนผังเป็นการจำลองพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ มีรายละเอียดน้อยกว่าแผนที่
       ค.   แผนผังจัดทำโดยประชาชนทั่วไป ส่วนแผนที่จัดทำโดยหน่วยงานราชการเท่านั้น
       ง.   แผนผังใช้ข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศ แผนที่ใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาคพื้นดินในการจัดทำ
   5.  บุคคลใดต่อไปนี้มีความจำเป็นต้องใช้แผนที่มากที่สุด
       ก.   พงษ์ศักดิ์นักท่องเที่ยวลูกครึ่งไทยฝรั่งเศส
       ข.   ร้อยตำรวจเอกศุภชัยรองสารวัตรสอบสวน
       ค.   ธีรเดชดารานักแสดงชื่อดัง
       ง.   สุรชัยนักโบราณคดี

6. การรับสัญญาณดาวเทียมอาศัยสิ่งใดเป็นหลัก
       ก.   คลื่นเสียง             ข.   คลื่นแสง
       ค.   การถ่ายภาพ         ง.   การใช้สัญลักษณ์
   7.  ข้อใดเป็นประโยชน์ของการศึกษาข้อมูลจากดาวเทียมมากที่สุด
       ก.   ค่าใช้จ่ายน้อย       ข.   ป้องกันภัยที่จะเกิด
       ค.   ข้อมูลที่ทันสมัย      ง.   ทำให้รู้เหตุการณ์ทุกมุมโลก
   8.  ข้อใดกล่าวถูกต้อง
       ก.   เส้นเมริเดียนที่ 180 องศาตะวันออกและตะวันตกจะทับกันเป็นเส้นเดียวกันและเป็นเส้นแบ่งเขตวันสากล
       ข.   เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์นที่อยู่ซีกโลกเหนือมีค่ามุมเท่ากับเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ที่อยู่ในซีกโลกใต้
       ค.   เส้นศูนย์สูตร เส้นเมริเดียนแรก และเส้นทรอปิก
            ออฟแคนเซอร์ เป็นเส้นขนานที่สำคัญ
       ง.   เส้นขนานมีจำนวน 360 องศา เส้นเมริเดียนมีจำนวน 180 องศา
   9ข้อใดกล่าวถูกต้อง
      ก. ประเทศไทยใช้เวลามาตรฐานท้องถิ่นที่เส้นเมริเดียน180 องศา
      ข. เวลาทางซีกโลกตะวันตกจะเร็วกว่าเวลาทางซีกโลกตะวันออก
     ค. ประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา เวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง
       ง.  เส้นลองจิจูดที่ 180 เป็นแนวแบ่งเขตวัน
10.  เส้นสมมติที่ลากจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกขนานกับเส้นศูนย์สูตร เรียกว่าอะไร
       ก.   เส้นขนานหรือเส้นขนานละติจูด    ข.   เส้นศูนย์สูตร
       ค.     เส้นเมริเดียน                         ง.เส้นแวง                



หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ประเทศไทยมีฝนตกชุกทั่วประเทศในประมาณกลางเดือนกรกฎาคมนั้น เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมอะไร
       ก.   ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ                         
       ข.   ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
       ค.   ลมพายุหมุนในทะเลจีน
       ง.   ลมพายุหมุนไซโคลน
   2.  เขตภูมิอากาศแบบสะวันนาจะปรากฏในพื้นที่ของประเทศไทยตอนใด
       ก.   ตะวันออก
       ข.   ตอนกลาง
       ค.   ตอนล่าง
       ง.   ตอนบน
   3.  ในช่วงอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือลักษณะอากาศของภาคใดที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ ในประเทศ
       ก.   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       ข.   ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
       ค.   ภาคกลาง
       ง.   ภาคเหนือ
   4.  เพราะเหตุใด บริเวณภาคกลางตอนล่างสภาพดินจึง   อุดมสมบูรณ์เหมาะต่อการเพาะปลูก
       ก. เป็นภาคที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีมากที่สุดในประเทศ
       ข. เป็นดินร่วนที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ของพืช
       ค. ดินเกิดจากตะกอนที่แม่น้ำสายต่างๆ พัดพามาทับถม
       ง. พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางไม่มากนัก
   5.  ปัจจัยสำคัญข้อใดที่ส่งเสริมให้ประชากรไทยมีอาชีพเกษตรกรรม
     ก.   เป็นอาชีพที่คนไทยมีความเชี่ยวชาญมากที่สุดเฉลี่ยต่อปีสูง
     ข.   สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเหมาะสม
     ค.   สืบทอดจากบรรพบุรุษ
     ง.  มีพื้นที่จำนวนมาก
6. ฉนวนไทยหมายถึงพื้นที่บริเวณใด
       ก.   ช่องเขาบริเวณทิวเขาพนมดงรักที่ใช้เดินทางติดต่อกับประเทศกัมพูชา
       ข.   แนวพรมแดนของประเทศไทย ประเทศเมียนมาและลาว บริเวณสบรวก
       ค.   ที่ราบภาคตะวันออกของประเทศไทยที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชา
       ง.   ปากแม่น้ำกระบุรีซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียนมา
   7.  ทิวเขาสูงต่างๆ ในภาคเหนือมีความสำคัญต่อสภาพภูมิศาสตร์ของภาคอย่างไร
       ก.   เป็นแนวพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างภาคเหนือกับภาคอื่นๆ
       ข.   ปัจจัยทางธรรมชาติที่ทำให้ภาคเหนือมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีสูง
       ค.   เขตที่ประชากรตั้งถิ่นฐานกันอยู่อย่างหนาแน่น
       ง.   เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของภาค
   8.  ประเทศเพื่อนบ้านใดมีพรมแดนทางบกติดต่อกับประเทศไทยเป็นระยะทางน้อยที่สุด
       ก.   ประเทศมาเลเซีย
       ข.   ประเทศกัมพูชา
       ค.   ประเทศเมียนมา
       ง.   ประเทศลาว
   9.  ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับที่ตั้งของประเทศไทย
       ก.   มีพื้นที่ประเทศอยู่ในซีกโลกตะวันตกทั้งหมด
       ข.   มีพื้นที่บางส่วนของประเทศอยู่ในซีกโลกใต้
       ค.   ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       ง.   ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
10.  แนวเขตแดนใดกั้นระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา
       ก.   ทิวเขาสันกะลาคีรี     
       ข.   ทิวเขาถนนธงชัย
       ค.   ทิวเขาพนมดงรัก
        ง.   ทิวเขาแดนลาว

11. การกระทำของบุคคลในข้อใด ถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
       ก.   จิตนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงดู เนื่องจากกลัวการสูญพันธุ์
       ข.   บีใช้ถุงผ้าเวลาไปจ่ายตลาด เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก
       ค.   จอมเผาขยะที่มีสารเคมี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสาร
       ง.   เจมส์ปล่อยมูลสุกรจากฟาร์มลงสู่แม่น้ำให้เป็นอาหารของปลา
12.  บุคคลใดมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม
       ก.   ผึ้งซื้อแอปเปิลไปให้ลิงแสมที่จังหวัดชลบุรีกินทุกวัน
       ข.   แก้วไปปลูกป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติ
       ค.   อ้อมไปซื้อสัตว์ป่าจากชาวบ้านมาเลี้ยง
       ง.   โก้ตัดไม้ในป่ามาสร้างบ้าน
13.  การแก้ปัญหาชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ ควรให้ความสำคัญกับข้อใดมากที่สุด
       ก.   การส่งเสริมการศึกษา การประกอบอาชีพในท้องถิ่น
       ข.   การสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับประชากรที่อพยพมา
       ค.   การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา ในชุมชนแออัด
       ง.   การเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย
14.  ข้อใดกล่าวถึงลักษณะทั่วไปของประชากรไทยได้ถูกต้อง
            ก.   จังหวัดที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดอยู่ในภาคตะวันตก
            ข.   มีแนวโน้มจำนวนประชากรวัยภาระพึ่งพิงมากขึ้น
            ค.   มีประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิง
       ง.   ภาคกลางมีจำนวนประชากรมากที่สุด
15.  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของใคร
       ก.   หน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่รัฐ
       ข.   ผู้ประกอบการภาคธุรกิจ
       ค.   องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
       ง.  ประชากรไทยทุกคน
16. แม่น้ำสายใดเป็นแนวพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน    
       ก.   แม่น้ำรวก-แม่น้ำกก
       ข.   แม่น้ำปาย-แม่น้ำขุนยวม
       ค.   แม่น้ำสาละวิน-แม่น้ำโขง
       ง.   แม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำศรีสวัสดิ์
17.  ลักษณะภูมิประเทศแบบใดพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       ก.   ชายหาดยาว
       ข.   พุน้ำร้อน
       ค.   ถ้ำหินปูน
       ง.   กุด
18.  ข้อใดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมของภาคตะวันออก
       ก.   หมู่เกาะสิมิลัน-หาดเจ้าไหม
       ข.   เกาะสมุย-หมู่เกาะอ่างทอง
       ค.   หาดจอมเทียน-เกาะช้าง
       ง.   หาดหัวหิน-หาดชะอำ
19.  “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เป็นคำกล่าวที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของภาคใด
       ก.   ภาคกลาง
       ข.   ภาคเหนือ
       ค.   ภาคตะวันออก
       ง.   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
20.  ทรัพยากรการท่องเที่ยวในข้อใดจัดอยู่ในประเภทที่แตกต่างจากข้ออื่น
       ก.   ผาแต้ม บ้านเชียง
       ข.   ออบหลวง ป่าหินงาม
       ค.   เกาะเสม็ด น้ำตกทีลอซู
       ง.   หมู่เกาะพีพี แพะเมืองผี

21. ข้อใดกล่าวถึงความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของภูมิภาคของไทยไม่ถูกต้อง
       ก.   ลำตัด ภาคใต้
       ข.   ฟ้อนเล็บ ภาคเหนือ
       ค.   เต้นกำรำเคียว ภาคกลาง
       ง.   เซิ้งกระติบ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
22.  เสี่ยเจียงต้องการทำธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งส่งต่างประเทศ เขาควรจะไปตั้งโรงงานที่ใดมากที่สุด
       ก.   ระนอง
       ข.   สุพรรณบุรี
       ค.   อุบลราชธานี
       ง.   กรุงเทพมหานคร
23.  ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของประชากรไทยถูกต้อง
       ก.   มีวัยพึ่งพิงมากกว่าวัยแรงงาน
       ข.   มีเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย
       ค.   ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณริมแม่น้ำ
       ง.   ประชากรในประเทศมีหลายเชื้อชาติในสัดส่วน
            ที่เท่าๆ กัน
24.  ลุงมี ชาวอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากสภาพภูมิประเทศแล้วควรจะประกอบอาชีพใดที่จะสร้างรายได้ให้กับลุงมีมากที่สุด
       ก.   ทำนา
       ข.   ทำการประมง
       ค.   ทำสวนผลไม้
       ง.   ทำสวนยางพารา
25.  ข้อใดแสดงถึงการเกิดสิ่งแวดล้อมใหม่ทางสังคม
       ก.   ในเมืองใหญ่มีตึกสูงๆ มากมาย
       ข.   สวนยางพาราในภาคใต้เขียวชอุ่มเป็นพื้นที่กว้าง
       ค.   พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพื้นที่นา
       ง.   หมู่บ้านจัดสรรเพิ่งเปิดโครงการใหม่ที่อำเภอ
              บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
26. บริเวณที่มีลักษณะภูมิประเทศแบบใด มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางที่สุด
       ก.   ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       ข.   ทิวเขาสูงในภาคเหนือและภาคตะวันตก
       ค.   ชายฝั่งทะเลของภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
       ง.   ที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง
27.  ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ของพืชเศรษฐกิจกับภาคต่างๆได้อย่างถูกต้อง
       ก.   ยาสูบ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       ข.   ข้าวเจ้า-ภาคตะวันออก
       ค.   ปาล์มน้ำมัน-ภาคใต้
       ง.   อ้อย-ภาคเหนือ
28.  เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกสำคัญของไทยในปัจจุบัน    และเปรียบเทียบกับในอดีตจะพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
       ก.   ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้น
       ข.   ส่งออกสินค้าทางการเกษตรมากขึ้น
       ค.   ส่งออกสินค้าที่ผลิตด้วยวัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก
       ง.   ส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีวิทยาการสมัยใหม่น้อยลง
29.  การประกอบอาชีพใดที่ทำให้พื้น ที่ในภาคใต้ในปัจจุบันบางแห่งถูกทำลาย
       ก.   การทำเกษตรแบบผสมผสาน
       ข.   การทำไร่มันสำปะหลัง
       ค.   การทำสวนยางพารา
       ง.   การทำนากุ้ง
30.  จังหวัดใดเป็นย่านอุตสาหกรรมสำคัญของไทย
       ก.   ระยอง-ชลบุรี
       ข.   นครปฐม-ปทุมธานี
       ค.   สมุทรปราการ-สุพรรณบุรี
       ง.   นนทบุรี-กรุงเทพมหานคร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย

 คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. เขตหมู่เกาะภูเขาไฟ อยู่บริเวณภูมิภาคใดของทวีปเอเชีย
       ก.   เอเชียใต้
       ข.   เอเชียกลาง
       ค.   เอเชียตะวันตก
       ง.   เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
   2.  ข้อความเกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจของภูมิภาค เอเชียกลาง ข้อใดถูกต้องที่สุด     
       ก.   เลี้ยงสัตว์ได้น้อย เนื่องจากพื้นที่แห้งแล้งไม่มี       พืชพรรณธรรมชาติเป็นอาหารสัตว์
       ข.   เป็นแหล่งผลิตภัณฑ์การประมงที่มีชื่อเสียงประเภท ไข่ปลาคาร์เวียร์
       ค.   อุตสาหกรรมสำคัญ คือ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
       ง.   เอเชียกลางมีความก้าวหน้ากว่าภูมิภาคอื่น
   3.  ที่ราบสูงทิเบตและที่ราบสูงยูนนานอยู่ในภูมิภาคใด    ของทวีปเอเชีย
       ก.   ภูมิภาคเอเชียตะวันออก
       ข.   ภูมิภาคเอเชียตะวันตก
       ค.   ภูมิภาคเอเชียกลาง
       ง.   ภูมิภาคเอเชีย
   4.  ประเทศใดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
       ก.   ไทย  มาเลเซีย ลาว
       ข.   อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน
       ค.   ลาว กัมพูชา มาเลเซีย บรูไน
       ง.   เวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชา
   5.  ภูมิภาคใดของทวีปเอเชียที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชียและในโลก
       ก.   เอเชียตะวันออก
       ข.   เอเชียตะวันตก
       ค.   เอเชียกลาง
ง.   เอเชียใต้

6. ประเทศที่มีการทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของทวีปเอเชียคือประเทศในกลุ่มใด
       ก.   ญี่ปุ่น  จอร์เจีย  อิสราเอล  ซาอุดีอาระเบีย
       ข.   บาห์เรน  ญี่ปุ่น  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย
       ค.   ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  ไต้หวัน  สิงค์โปร์
       ง.   จีน  เกาหลีใต้  ไต้หวัน  ญี่ปุ่น
   7ข้อความที่บรรยายลักษณะภูมิประเทศของภูมิภาค  เอเชียใต้ ข้อใดถูกต้อง
       ก.   ที่ราบสูงเดคานเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุก
       ข.   เทือกเขาหิมาลัยมียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก            คือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์
       ค.   ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศบังกลาเทศ
       ง.   ทางตะวันออกเฉียงใต้มีหมู่เกาะสำคัญ คือ           หมู่เกาะมัลดีฟส์ของประเทศอินเดีย        
   8.  ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ของอาณาเขตของทวีปเอเชีย                    ได้ถูกต้อง
       ก.   คาบสมุทรมลายู-จุดตะวันออกสุด
       ข.   ทะเลอาหรับ-จุดตะวันตกสุด
       ค.   แหลมปิไอ-จุดเหนือสุด
       ง.   เกาะติ-จุดตะวันออกสุด
   9.  การเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน พบมากบริเวณใดของทวีปเอเชีย
       ก.   ที่ราบลุ่มน้ำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
       ข.   ตอนเหนือของทวีปเอเชียและภูมิภาคเอเชียตะวันออก
       ค.   เขตมรสุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของทวีป
       ง.   ทุ่งหญ้าใจกลางของทวีปเอเชียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
10.  พืชพรรณธรรมชาติ ไม้ยาง ไม้ตะเคียน ไม้แดง จะพบมากในบริเวณใดของทวีปเอเชีย
       ก.   ภูมิอากาศแบบกึ่งชื้นเขตร้อน
       ข.   ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน
       ค.   ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น

11.  ประชากรส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียใต้นับถือศาสนาใด
       ก.   ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
       ข.   พระพุทธศาสนา
       ค.   ศาสนาอิสลาม
       ง.   ศาสนาเชน
12.  ที่ราบสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้จะพบใน บริเวณใด
       ก.   ระหว่างเทือกเขา
       ข.   ระหว่างที่ราบลุ่ม
       ค.   ระหว่างที่ราบกับทะเลทราย
       ง.   ระหว่างที่ราบลุ่มน้ำกับชายฝั่งทะเล
13.  เพราะเหตุใด ทวีปเอเชียจึงมีต้นไม้นานาพันธุ์ 
       ก.   ความร่วมมือกันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าของประเทศต่างๆ
       ข.   ความหลากหลายของสภาพภูมิอากาศ
       ค.   ทวีปเอเชียมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล
       ง.   ป่ามีความอุดมสมบูรณ์
14.  ทุกข้อกล่าวถึงทวีปเอเชียได้ถูกต้อง ยกเว้นข้อใด
       ก.   เป็นดินแดนต่อเนื่องกับทวีปแอฟริกา
       ข.   พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร
       ค.   เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
       ง.   มีเนื้อที่ครึ่งหนึ่งของพื้นที่โลก
15.  ประชากรในภาพนี้ จัดอยู่ในกลุ่มใด
         ก.   กลุ่มนิกรอยด์             
         ข.   กลุ่มคอเคซอยด์
         ค.   กลุ่มมองโกลอยด์                         ง.    กลุ่มเมลานีซอยด์


16.  ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนของทวีปเอเชีย จะพบในบริเวณชายฝั่งของประเทศใด
       ก.   อิสราเอล  ซีเรีย  เลบานอน
       ข.   มองโกเลีย  อิรัก  อิหร่าน
       ค.   อิสราเอล ตุรกี  ญี่ปุ่น
       ง.   จีน  ญี่ปุ่น เกาหลี
17.  ประเทศในทวีปเอเชียที่จับสัตว์น้ำได้มากที่สุดในโลก
       ก.   จีน
       ข.   ญี่ปุ่น
       ค.   เกาหลี
       ง.   มาเลเซีย
18.  พื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีลักษณะอย่างไร
       ก.   เป็นที่ราบสูงสลับกับที่ราบลุ่มน้ำ
       ข.   เป็นที่ราบ ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล
       ค.   เป็นที่ราบริมฝั่งทะเล ที่ราบสูงสลับกับภูเขาสูง
       ง.   เป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบสูงทางตะวันตกและลาดเอียงต่ำลงทางตะวันออก
19.  ลักษณะป่าชายเลนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  จะพบที่ชายฝั่งของประเทศในกลุ่มใดมากกว่าที่อื่น
       ก.   เมียนมา  ลาว  กัมพูชา
       ข.   มาเลเซีย  ไทย  ฟิลิปปินส์
       ค.   อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ไทย
       ง.   อินโดนีเซีย  สิงค์โปร์  เวียดนาม
20.  อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ คืออะไร
       ก.   อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า                                      
       ข.   อุตสาหกรรมในครัวเรือน
       ค.   อุตสาหกรรมน้ำมัน                            
       ง.   อุตสาหกรรมป่าไม้


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ภูมิศาสตร์ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะภูมิอากาศของทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนียได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   บริเวณหมู่เกาะขนาดเล็กมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี
       ข.   มีอากาศร้อนและฝนตกชุกทางตอนใต้ของทวีป
       ค.   ลักษณะภูมิอากาศส่วนใหญ่เป็นแบบทุนดรา
       ง.   ทางตอนเหนือของทวีปมีอากาศร้อนชื้น
   2.  ทำไมประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จึงให้ความสำคัญต่อการวางแผนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       ก.   เพราะเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้ว
       ข.   เพราะตระหนักในปัญหาของการทำลายสภาพแวดล้อม
       ค.   เพราะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
       ง.   เพราะเป็นประเทศที่มีรายได้หลักมาจากเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
   3.  ข้อใดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการเลี้ยงแกะมากในประเทศ
       นิวซีแลนด์
       ก.   อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้
       ข.   มีฝนตกต้องตามฤดูกาล
       ค.   มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์
       ง.   มีทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์
   4.  ข้อใดแสดงถึงสัตว์ป่าที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศในทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียได้สัมพันธ์กัน
       ก.   สุนัขป่าดิงโก ปาเลา
       ข.   นกกีวี นิวซีแลนด์
       ค.   หมีโคอาลา ฟีจี
       ง.   จิงโจ้ ตองกา
   5.  คณะนักท่องเที่ยวคณะหนึ่งเดินทางไปยังตอนกลางของประเทศออสเตรเลีย พวกเขาจะพบกับลักษณะภูมิอากาศแบบใด
       ก.   ที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่
       ข.   ป่าดิบอันอุดมสมบูรณ์
       ค.   ทะเลทรายที่แห้งแล้ง
       ง.  เทือกเขาสูงชัน
6. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งและขนาดของทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   ประกอบด้วยประเทศที่มีเนื้อที่ใกล้เคียงกัน
       ข.   มีอาณาเขตติดต่อกับทวีปยุโรป
       ค.   มีพื้นที่อยู่ในซีกโลกใต้ทั้งหมด
       ง.   เป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด
   7.  แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของออสเตรเลีย อยู่บริเวณใด
       ก.   ลุ่มแม่น้ำเมอร์รีย์ ดาร์ลิง
       ข.   ชายฝั่งอ่าวคาร์เพนแทเรีย
       ค.   ที่ราบนัลลาบอร์             
       ง.   แหลมยอร์ก
   8.  ลักษณะภูมิประเทศแบบใดครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย
       ก.   ที่ราบสูงและทะเลทราย
       ข.   ที่ราบชายฝั่งทะเล
       ค.   ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
       ง.   เทือกเขาสูง
   9.  ข้อใดเป็นชนพื้นเมืองในทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย
       ก.   อินคา มายา                                      
       ข.   มาไซ บุชแมน
       ค.   แอบอริจินี เมารี                            
       ง.   เอสกิโม อินเดียนแดง
10.  ทำไมจึงมีคำกล่าวว่า อาชีพการประมงเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับการดำรงชีวิตของประชากรทุกประเทศในทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย
       ก.   เพราะประชากรทุกประเทศในทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนียประกอบอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่  
       ข.   เพราะประชากรทุกประเทศในทวีปออสเตรเลีย    และโอเชียเนียมีภูมิลักษณ์เป็นเกาะ
       ค.   เพราะประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่มีพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสูง                          
       ง.   เพราะมีชายฝั่งทะเลที่ยาวที่สุด


11. ถ้าเดินทางจากขั้วโลกใต้ขึ้นมาทางเหนือมายังทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียจะถึงประเทศใดเป็นประเทศแรก
       ก.   ปาปัวนิวกินี              ข.      นิวซีแลนด์
       ค.   ซามัว                     ง.      ตูวาลู
12.  เกรตแบร์ริเออร์รีฟ คืออะไร
       ก.   ทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย
       ข.   เทือกเขาที่เป็นอาณาเขตของประเทศ
       ค.   แนวปะการังขนาดใหญ่ที่สุดในโลก                     
       ง.   หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
13.  ทำไมบริเวณด้านตะวันตกและตอนกลางของประเทศออสเตรเลียจึงมีความแห้งแล้ง
       ก.   เพราะอยู่ห่างไกลทะเลและมหาสมุทร
       ข.   เพราะมีเทือกเขาบังลมฝนที่พัดผ่าน
       ค.   เพราะมีพื้นที่ทะเลทรายกว้างใหญ่
       ง.   เพราะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร

14. บริเวณใดของทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียเป็นแหล่งเกษตรกรรมแบบเมืองร้อนได้ดี
       ก.   บริเวณเกาะเหนือและเกาะใต้ของนิวซีแลนด์
       ข.   ที่ราบชายฝั่งตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย      
       ค.   บริเวณตอนกลางของประเทศออสเตรเลีย
       ง.   ที่ราบชายฝั่งอ่าวคาร์เพนแทเรีย
15.  ทำไมจึงมีการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมและวัฒนธรรมในบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลียมากกว่าบริเวณอื่น
       ก.   เพราะมีประชากรจากที่ต่างๆ เข้าไปอาศัยอยู่มาก
       ข.   เพราะสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลง
       ค.   เพราะความเจริญทางด้านเทคโนโลยี
       ง.   เพราะมีประชากรหลายเผ่าพันธุ์


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ภัยธรรมชาติและการระวังภัย

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. บริเวณใดจัดเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยแบบเฉียบพลัน
       ก.   บริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ
       ข.   บริเวณที่ราบเนินเขา
       ค.   บริเวณปากแม่น้ำ
       ง.   บริเวณริมทะเล
   2. ข้อใดจัดเป็นแนวทางป้องกันภัยจากอุทกภัยที่มีการเตรียมการอย่างเป็นระบบ
       ก.   สร้างอาคารให้สูงจากพื้นดินมากๆ
       ข.   ขุดลอกลำน้ำเพื่อลดการตื้นเขิน
       ค.   ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ
       ง.   มีการติดตั้งระบบเตือนภัย
   3. การเกิดแผ่นดินถล่มในประเทศใด ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด
       ก.   จังหวัดนครศรีธรรมราชของไทย
       ข.   จังหวัดเพชรบูรณ์ของไทย
       ค.   มณฑลเสฉวนของจีน
       ง.   มณฑลชานสีของจีน
   4.  สาเหตุสำคัญในการเกิดแผ่นดินถล่ม คืออะไร
       ก.   ฝนตกหนักต่อเนื่องยาวนานในพื้นที่ภูเขาที่มีความ     ลาดชันมาก
       ข.   การกัดเซาะของธารน้ำแข็ง หรืออ่างน้ำ
       ค.   การเคลื่อนที่ของพื้นที่ใต้ดิน
       ง.   การเกิดวาตภัยอย่างรุนแรง
   5.  ข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุทกภัยมากที่สุด
       ก.   ฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน
       ข.   แม่น้ำไหลผ่านที่ดิน
       ค.   ท่อระบายน้ำมีน้อย
       ง.   เป็นพื้นที่ราบ
6. ข้อใดเป็นการป้องกันภัยแล้งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
       ก.   งดการตัดต้นไม้ทุกประเภท
       ข.   ลดการใช้น้ำ โดยใช้เฉพาะที่จำเป็น
       ค.   ทำฝนเทียมในบริเวณที่แห้งแล้ง
       ง.   ลดการเผาทำลายป่า และเพิ่มพื้นที่ป่า
   7.  สาเหตุสำคัญของภัยแล้งที่สำคัญที่สุด คืออะไร
       ก.   การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ลดความชุ่มชื้นแก่ภูมิอากาศของโลก
            ข.   การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก
            ค.   บรรยากาศในโลกมีการเปลี่ยนแปลง
       ง.   การที่ฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล
   8.  การที่แผ่นดินไหวรุนแรงใต้ท้องทะเล หรือการปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทรจะมีผลให้เกิดภัยธรรมชาติชนิดใด
       ก.   แผ่นดินถล่ม
       ข.   คลื่นสึนามิ
       ค.   อุทกภัย
       ง.   วาตภัย
   9.  การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกจะเกิดภัยในข้อใด
       ก.   ความกดอากาศต่ำ
       ข.   แผ่นดินไหว
       ค.   อุทกภัย
       ง.   ภัยแล้ง
10.  ประชากรทุกคนในโลกสามารถมีส่วนร่วมในการป้องกันและระวังภัยจากภัยแล้งได้อย่างไร
       ก.   ระงับการเผาป่าเพื่อใช้พื้นที่ปลูกพืช
       ข.   ลดการใช้พลังงานน้ำ พลังงานลม
       ค.   ใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า
       ง.   ปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น


11. การระเบิดของภูเขาไฟ อาจจะส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติ        ที่ร้ายแรงในข้อใด
       ก.   แผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ
       ข.   ไฟป่า คลื่นสึนามิ
       ค.   วาตภัย อุทกภัย
       ง.   วาตภัย ภัยแล้ง   
12.  ไฟป่าทำให้เกิดความเสียหายในเรื่องใดมากที่สุด
       ก.   การคมนาคมติดขัด
       ข.   สัตว์ป่าสูญพันธุ์
       ค.   ป่าไม้ถูกทำลาย
       ง.   เกิดควันพิษ
13.  ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดวาตภัย คือข้อใด
       ก.   ฝนตกต่อเนื่อง
       ข.   ภาวะโลกร้อน
       ค.   น้ำทะเลหนุน
       ง.  การเผาป่า
14. ถ้าเราไปเล่นน้ำทะเลแล้วเห็นว่า ระดับน้ำทะเลบริเวณชายหาดลดลงอย่างรวดเร็ว และมีปลาอยู่เกลื่อนชายหาด เราควรปฏิบัติตนอย่างไร
       ก.   รีบเก็บปลาไปเป็นอาหาร
       ข.   เล่นน้ำทะเลตามเดิม
       ค.   ลงเรือไปในทะเล
       ง.   รีบขึ้นไปในที่สูง
15 ชาวประมงควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อมีข่าวพยากรณ์
       อากาศประกาศว่า จะเกิดวาตภัย
       ก. ใช้วิทยุสื่อสารประกาศให้เพื่อนบ้านทราบข่าว
          เป็นระยะ 
       ข. ตรวจสอบความแข็งแรงของบ้านเรือน
       ค. รีบนำเรือออกไปจอดบริเวณปากอ่าว
       ง. งดออกเรือในช่วงเวลานั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น